HOME
ABOUT US
HOME STYLES
MATERIALS
TESTIMONIALS
TIPS BY ST
NEWS & PROMOTIONS
CONTACT US
TIPS BY ST
HOME
TIPS BY ST
การตรวจรับบ้านใหม่แบบคนไม่เคย
การตรวจรับบ้านใหม่แบบคนไม่เคย
การตรวจรับบ้านใหม่แบบคนไม่เคย
ปัญหาที่มักเกิดกับเจ้าของบ้านมือใหม่ ในการตรวจรับโอนบ้านจากบริษัทฯ ผู้รับเหมา รับสร้างบ้าน คือ ไม่รู้จะเริ่มต้นตรงไหนอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นบ้าน 2 ชั้น หรือ บ้าน 3 ชั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายลดความยุ่งยาก บจก.ท็อป เอสทีฯ ขอเสนอแนะการตรวจสอบจุดสำคัญหลักๆ ที่ไม่ควรปล่อยผ่าน ตามหัวข้อต่อไปนี้
งานโครงสร้าง
ให้สังเกตรอยร้าวต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบริเวณพื้น เสา คาน ผนัง ซึ่งต้องไม่มีรูปร่างที่ผิดปกติหรือโค้งงอ รอยร้าวงานโครงสร้างมักมีขนาดใหญ่ที่กลางเสาหรือกลางคาน หากตรวจพบเจอต้องให้เจ้าของโครงการจัดหาวิศวกรโยธามาตรวจสอบ ซึ่งควรตรวจสอบในขณะที่ยังไม่มีงานก่อฉาบผนังบ้าน หรือปิดแผ่นฝ้าเพดาน
บันได
เดินขึ้น-ลง ต้องไม่มีเสียงดัง ไม่โยกสั่นคลอน ลูกตั้งลูกนอน ทุกขั้นต้องมีระยะต่างกันไม่เกิน 2- 3 มม. ตั้งแต่ขั้นแรกจนถึงชานพักชั้นถัดไป จมูกบันไดไม่มีการแตก,บิ่น ทดสอบความแข็งแรงของราวบันได ด้วยการโยกแล้วต้องไม่สั่น ทาง บจก.ท็อป เอสทีฯ ใช้โครงสร้างบันไดเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ตัดปัญหาโยกคลอนได้ 100%
ฝ้า-เพดานภายนอก
ให้ดูความเรียบร้อยของแนวร่องระหว่างแผ่นฝ้า ควรมีระยะห่างสม่ำเสมอกัน หากมีช่องระบายอากาศควรติดตั้งมุ้งลวดป้องกันแมลงด้วย ถ้าใช้ไม้ระแนงเป็นฝ้า ควรทาน้ำยากันปลวกทั้งที่ไม้ระแนงและโครงเคร่า ปัจจุบัน บจก.ท็อป เอสทีฯ ใช้ไม้เทียมกรุบนโครงเคร่าโลหะ ตัดปัญหาเรื่องปลวกไปได้เลย
ฝ้า-เพดานภายใน
ถ้าเป็นแบบฉาบเรียบต้องได้ระดับ เรียบเสมอกัน ไม่มีรอยด่างจากการทาสี แต่ยอมได้บ้างในกรณีที่เป็นฝ้าผืนใหญ่มาก ถ้าใช้ฝ้าแบบทีบาร์ แผ่นฝ้าต้องไม่เกยกับเส้นทีบาร์
งานหลังคา
ตรวจสอบการรั่วซึมจากน้ำฝน ถึงแม้จะไม่สามารถมองเห็นโครงสร้างหลังคาได้จากในตัวบ้าน แต่สามารถตรวจสอบได้โดยให้สังเกตว่ามีคราบที่เกิดจากฝนรั่วซึมบริเวณฝ้า-เพดาน หรือไม่ ส่วนการดูว่ามุงกระเบื้องหลังคาเรียบร้อยดี เสริมอุปกรณ์ ฉนวนต่างๆ ครบหรือไม่ให้เปิดฝ้าที่ช่องเปิดบริเวณภายในห้องน้ำชั้นบน หรือฝ้าทีบาร์ แล้วขึ้นไปดูว่ามีแสงลอดผ่านแผ่นกระเบื้องหลังคาหรือไม่ ถ้าหากมีก็ควรมีน้อยที่สุด ทั้งนี้ให้ดูด้วยว่ามีการฉีกขาดของฉนวนใต้แผ่นหลังคาหรือเปล่า ถ้ามีก็ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาแก้ไขซ่อมแซมให้ ปกติแล้วจะมีการรับประกันการรั่วซึมของกระเบื้องหลังคา 5-10 ปี
ระบบประปา-สุขาภิบาล
ลองเปิดก๊อกน้ำและฝักบัวทุกจุด ดูว่ามีจุดไหนผิดปกติ ทดสอบเปิด-ปิดวาล์ว เมื่อปิดสนิทแล้วน้ำต้องไม่มีหยดที่ก๊อกและใต้อ่าง ชักโครกและโถปัสสาวะ ให้ทดลองกดดูว่าทำงานปกติหรือไม่ และถ้าหากมีการติดตั้งมิเตอร์น้ำแล้ว ให้ลองปิดก๊อกน้ำทุกจุดแล้วดูว่ามิเตอร์ยังวิ่งอยู่หรือไม่ ถ้าวิ่งแสดงว่ามีน้ำรั่ว ต้องแจ้งผู้เกี่ยวข้องแก้ไข
งานทาสี
ให้ดูความเรียบเนียนสม่ำเสมอของสี ไม่มีจุดไหนด่างหรือผิดเพี้ยน ไม่ควรทาสีทับเกิน 5 ชั้นจะทำให้สีหลุดล่อนได้ง่าย การทาสีซ่อม ต้องทาทั้งแผง
ผนังภายนอก-ภายใน
ควรสังเกตดูว่าผนังได้ดิ่ง ได้ฉาก กับพื้นหรือไม่ ถ้าถึงขนาดมองด้วยตาเปล่าแล้วเห็นความผิดปกติควรแจ้งแก้ไข นอกจากนี้ผนังอาจเกิดรอยแตกลายงา ให้ลองเคาะผนังดู หากได้ยินเสียงก้องไม่แน่นให้ทำเครื่องหมายไว้เพื่อแจ้งแก้ไข แต่ถ้าแน่นดีไม่ต้องแก้ไข เพียงแต่ต้องโป๊วรอยต่างๆ ขัดให้เรียบ แล้วทาสีใหม่ทั่วทั้งแผง
ระบบไฟฟ้า
ทดลองเปิด-ปิดสวิทซ์ไฟทุกดวง เสียบปลั๊กทุกจุด เพื่อดูว่ามีไฟฟ้าเข้าครบทุกจุด โดยใช้ไขควงทดสอบไฟฟ้า ทั้งนี้ให้สอบถามถึงตำแหน่งของแท่งกราวด์ที่ต่อสายดินให้ชัดเจน ปกติต้องห่างจากตัวบ้าน 50-60 ซม.
ประตู-หน้าต่าง
กรอบประตู-หน้าต่างต้องไม่บิดเบี้ยว ได้ระดับ วงกบแนบสนิทกับบาน หากเป็นบานเลื่อนต้องเลื่อนแล้ว ไม่ฝืด ไม่ติดขัด รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ เช่น มือจับลูกบิด ตัวล็อค ใช้งานได้ปกติ
งานพื้น
ไม่ว่าจะปูพื้นด้วยวัสดุชนิดใด ต้องติดตั้งเรียบสนิท เดินแล้วไม่สะดุด ไม่มีการแอ่นตัว ปูดบวม ให้ลองเคาะกระเบื้องดูหากมีเสียงกลวงๆ มากกว่า 3 จุดใน 1 แผ่น สันนิฐานได้เลยว่า ใต้วัสดุนั้นเป็นโพรงเนื่องจากใช้วิธีการปูที่ไม่ถูกต้อง ควรแจ้งแก้ไข ส่วนพื้นห้องน้ำต้องมีระดับความลาดเอียงเพียงพอให้น้ำไหลลงท่อน้ำทิ้ง ตรวจสอบโดยการราดน้ำลงพื้นแล้วดูทิศทางการไหลของน้ำว่าไหลลงท่อสะดวกหรือไม่
related tips
การพิจารณาเลือกแบบบ้าน ให้เหมาะสมกับที่ดิน
19.12.2012
5 เรื่องที่ต้องรู้ก่อนแต่งบ้าน
16.09.2022