ขอสินเชื่อบ้าน ไม่ยากอย่างที่คิด |
|
การสร้างบ้านสักหลังไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องใช้เงินก้อนจำนวนมาก ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการกำหนดรูปแบบของบ้าน ขนาด ฟังก์ชั่น และรายละเอียดต่างๆ มากมายของบ้าน จนดูเหมือนว่ากลายเป็นความฝันที่ยากจะสร้างให้เป็นจริงขึ้นมาได้ ทว่าความฝันถึงการมีบ้านดีๆ สักหลังก็ยังคงเป็นความปรารถนาที่ใครหลายคนไขว่คว้ามาตลอด โดยตัวช่วยที่จะมาสร้างฝันของคุณให้เป็นจริงได้เร็วขึ้น นั่นก็คือการใช้บริการ “สินเชื่อบ้าน” ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในสถาบันการเงินชั้นนำต่างๆ หลายแห่ง เพื่อให้คุณมีงบประมาณทางการเงินที่เพียงพอ |
|
|
|
แต่ก่อนจะเดินเข้าไปยื่นเรื่องขอกู้ตามสถาบันการเงิน ลองใช้เวลาศึกษาและเตรียมความพร้อมเบื้องต้นถึงกระบวนต่างๆ เพื่อให้การขอสินเชื่อเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและให้ความมั่นใจกับตัวเองมากขึ้นด้วย |
|
ประเมินความต้องการของตัวเอง ควรจะรู้ความต้องการของตัวเองก่อนว่าจะอยู่บ้านแบบไหน บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ หรือคอนโดมิเนียม ซึ่งตรงจุดนี้ก็อยู่ที่พฤติกรรมชีวิตและความต้องการที่คุณควรจะประเมินไว้ล่วงหน้า รวมทั้งดูกำลังของตนเองด้วยว่าในระยะ 20 ปี หรือ 30 ปี จากนี้ไป จะมีรายได้พอมาผ่อนจ่ายธนาคารหรือไม่ ถ้าไม่อย่างนั้นอาจจะต้องเตรียมหาคนกู้ร่วมไว้เลย |
|
สำรวจความพร้อมทางการเงินของตัวเอง ก่อนตัดสินใจขอใช้สินเชื่อซื้อบ้าน ควรตรวจสอบฐานะการเงินของตนด้วยว่ามั่นคงและมั่นใจพร้อมที่จะผ่อนบ้านแล้วหรือไม่ โดยในเบื้องต้นจำนวนเงินงวดที่ผ่อนชำระแต่ละเดือนนั้นไม่ควรเกินว่า 30-40% ของรายได้ และที่สำคัญต้องตรวจสอบดูว่าเราเคยมีการติดค้างการชำระเงินกู้ ไม่ว่าจะเป็นค่างวดรถยนต์ ค่างวดเงินกู้อื่นๆ ติดหนี้บัตรเครดิต หรือค่าจ่ายเช็คเด้ง อื่นๆ อีกหรือไม่ แล้วถ้ามีก็รีบเคลียร์หนี้เหล่านั้นให้หมดสิ้น เพราะถ้าไม่เช่นนั้นคุณอาจจะติดแบล็คลิสต์ของศูนย์ข้อมูลเครดิต (Credit Bureau) จนไม่สามารถขอสินเชื่อได้นั่นเอง |
|
คุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ อายุของผู้กู้ เมื่อรวมกับจำนวนปีที่ขอกู้แล้ว จะต้องไม่เกิน 65 ปี บางแห่ง หรือ 70 ปี หากมีผู้กู้ร่วมรายอื่น นอกจากผู้ที่เป็นคู่สมรส บิดา มารดา บุตร และพี่น้อง จะมีผู้กู้ร่วมคนอื่นได้อีก (ซึ่งไม่เกิน 1 คน) โดยผู้กู้ร่วมที่ไม่ใช่คู่สมรสและบุตร จะต้องถือกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ที่จำนองด้วย และอย่างที่กล่าวไปว่าผู้กู้ไม่ควรมีประวัติการชำระหนี้ค้าง ในกรณีที่ผู้กู้ต้องขอกู้เงินเพื่อไถ่ถอนจำนองจากสถาบันการเงินอื่น ก็ต้องมีประวัติการชำระหนี้ที่ดีมาแล้วอย่างน้อย 12 งวด |
|
|
|
จะกู้กับใคร เลือกให้ดี แหล่งเงินกู้ที่เปิดให้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัยในปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ด้วยกันคือ กลุ่มแรก สถาบันการเงินของรัฐ เช่น ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.), ธนาคารกรุงไทยและธนาคารออมสิน กลุ่มที่ 2 ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินทั่วไป ส่วนกลุ่มสุดท้ายคือเงินกู้จากบริษัทประกันชีวิตที่ให้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยควรนำเงื่อนไขต่างๆ ที่ธนาคารทั้งหลายให้มานั้นเปรียบเทียบกันก่อนตัดสินใจแน่นอนว่าธนาคารอาจจะไม่ให้วงเงินสินเชื่อแก่คุณเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว ยังมีเรื่องอัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขหลังอัตราดอกเบี้ยคงที่หมดอายุแล้วว่าเป็นอย่างไร บางธนาคารเอาโปรโมชั่นดอกเบี้ย 0 เปอร์เซ็นต์ มาล่อในช่วง 6 เดือน ถึง 1 ปี แรก แต่ปีต่อไปดอกเบี้ยสูงขึ้นจนผ่อนไม่ไหวก็มี รวมทั้งระยะเวลาการผ่อนชำระ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ความสะดวกสบายในการชำระค่างวด ที่คุณต้องนำมาเปรียบเทียบกันให้ดีและคำนวณให้เหมาะกับศักยภาพการผ่อนชำระเงินของตัวเอง |
|
อัตราดอกเบี้ย จุดตายที่ควรรู้ เรื่องของเงื่อนไขการกู้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่นับได้ว่ามีรายละเอียดอย่างมาก ทั้งยังมีรูปแบบที่หลากหลาย ถ้าคุณสามารถเรียนรู้ว่าแต่ละประเภทมีลักษณะอย่างไรก็จะสามารถทำให้คุณออกแบบลักษณะการกู้ที่เหมาะสมกับอัตภาพของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสิ่งสำคัญที่จะชี้เป็นชี้ตายในการขอสินเชื่อก็คือ อัตราดอกเบี้ยซึ่งธนาคารหรือสถาบันการเงินมีอัตราดอกเบี้ยซึ่งธนาคารหรือสถาบันการเงินมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ 3 แบบ ขึ้นอยู่กับสถานะทางการเงินของคุณว่าเหมาะสมกับแบบไหน ระหว่าง |
|
- เงินกู้อัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate Loan) คือเงินกู้ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว คืออัตราดอกเบี้ยที่กำหนด ณ ปัจจุบันตามประกาศนั้นจะใช้ไประยะหนึ่งและต่อมาภายหลังอาจปรับเปลี่ยนขึ้นหรือลงได้ตามสถานการณ์ตลาดเงินหรือต้นทุนทางการเงินของสถาบันการเงิน |
|
- อัตราดอกเบี้ยคงที่ตลอดระยะเวลากู้ หมายถึง เงินกู้ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่หรือตายตัวตามประกาศของสถาบันการเงิน ณ ขณะกู้ โดยไม่ปรับเปลี่ยนขึ้นหรือลงตามสถานการณ์ตลาดเงินหรือต้นทุนทางการเงินของสถาบันการเงิน ดังนั้นเงินงวดที่ชำระในแต่ละเดือนก็จะคงที่ตลอดระยะเวลากู้นาน 5-10-15-20 ปี ตามแต่ผู้กู้จะเลือก |
|
- เงินกู้อัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะหนึ่งและปรับเป็นคงที่ใหม่ทุกรอบเวลา (Rollover Mortgage Loan) คือเงินกู้อัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะหนึ่ง เช่น 3 ปี หรือ 5 ปี และปรับเป็นคงที่ใหม่ทุกรอบเวลา 3 หรือ 5 ปี ตลอดระยะเวลากู้นาน 25-30 ปี |
|
|
|
ผ่อนยาวหรือผ่อนสั้นดีกว่ากัน อีกหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจก็คือ ระยะเวลาในการผ่อนชำระเงินกู้ ว่าควรจะผ่อนยาวๆ หรือผ่อนสั้นดีกว่ากัน อันนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการผ่อนชำระของแต่ละคน ถ้าระยะเวลาการกู้สั้น ก็ต้องจ่ายเงินงวดต่อเดือนสูง ทำให้ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยมาก แต่ถ้าคุณอยากผ่อนสบายๆ ก็ควรเลือกการผ่อนยาว ซึ่งหากมีรายได้มากขึ้นในอนาคตก็ค่อยจ่ายเงินก้อนในภายหลังได้ แต่ยอดรวมเงินกู้ทั้งหมดก็จะเพิ่มขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยและระยะเวลานั่นเอง โดยทั่วไปธนาคารมักให้วงเงินกู้ประมาณ 15-30 เท่าของรายได้ อาจลดหลั่นมากน้อยตามแต่กลุ่มอาชีพ และมักกำหนดเงินงวดต่อเดือนประมาณ 35-45% ของรายได้รวมของผู้กู้ เช่น รายได้ 20,000 บาท/เดือน ควรผ่อนอยู่ที่ 7,000-9,000 บาท/เดือน |
|
เงินเดือนเท่านี้ ขอสินเชื่อได้เท่าไหร่ สำหรับมนุษย์เงินเดือน คำถามนี้เป็นคำถามยอดฮิตติดอับดับต้นๆ หากต้องการขอสินเชื่อเพื่อไปซื้อที่อยู่อาศัย โดยทางธนาคารจะพิจารณาให้สินเชื่อโดยดูจากความสามารถในการผ่อนชำระของคุณ ถ้าหากเป็นมนุษย์เงินเดือนทั่วไป เงินเดือนสามสี่หมื่นบาท จะไปกู้เงินซื้อบ้านราคาสามสี่ล้านอันนี้ก็คงยากสักนิด เพราะธนาคารส่วนใหญ่มักจะให้ยอดผ่อนชำระของสินเชื่อต่อเดือนได้ไม่เกิน 2 ใน 5 ของรายได้ (ยกเว้นธนาคารบางแห่งที่อาจยอมให้ยอดผ่อนชำระสินเชื่อในแต่ละเดือนได้ถึงครึ่งหนึ่งของรายได้) คุณสามารถคำนวณค่าใช้จ่ายส่วนนี้คร่าวๆ ได้จากเว็บไซต์ของธนาคารที่คุณกำลังจะไปเป็นลูกค้าในอนาคตก็ได้ |
|
ความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินการ เป็นองค์ประกอบที่สามารถนำมาพิจารณาร่วม เช่น ความสะดวกในการเดินทางเพื่อไปยื่นกู้จากสาขาใกล้บ้าน ความรวดเร็วในการอนุมัติ ความสะดวกในการชำระหนี้ผ่านช่องทางต่างๆ รวมไปถึงการบริการ พูดคุย และให้คำปรึกษาที่ทำให้คุณรู้สึกสบายใจเวลาไปยื่นเอกสารต่างๆ และที่สำคัญ คือควรตรวจสอบการเตรียมเอกสารในการยื่นคำร้องขอกู้ให้ครบถ้วนเสียก่อน |
|
สิ่งที่สำคัญมากที่สุดซึ่งทำให้ระบบการกู้เป็นไปอย่างราบรื่น ก็คือความรับผิดชอบในการชำระหนี้อย่างเคร่งครัด คำนวณและเก็บออมเงินสำหรับเคลียร์หนี้อย่างมีวินัย รวมถึงพยายามปลดเปลื้องหนี้ทั้งหมดให้อยู่ภายในระยะเวลาที่เร็วที่สุด เพื่อคุณจะได้อยู่อาศัยในบ้านในฝันของตัวเองอย่างเต็มภาคภูมิและมีความสบายใจสูงสุด |
|
|
|
CREDIT BY หนังสือรวมแบบบ้านสวยของบริษัทรับสร้างบ้านชั้นนำ HOME DESIGN Vol.10 สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน คัดลอกและดัดแปลงบทความเพิ่มเติม โดย บริษัท ท็อป เอสที บิวเดอร์ จำกัด |